บทสรุปงาน ‘ปลุกพลังความคิด ใช้พลาสติกอย่างยั่งยืน’

ปัจจุบันประเทศของเรากำลังประสบปัญหาวิกฤตขยะพลาสติกที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกในปริมาณมาก หลังจากใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกแล้ว บางส่วนกลับถูกจัดการอย่างไม่ถูกต้อง ทำให้พลาสติกส่วนนี้หลุดรอดออกสู่ธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ หรือคน ด้วยเหตุนี้เองกระแสรักษ์โลกเริ่มแพร่หลายในคนหมู่มาก รวมถึงภาครัฐที่ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวเช่นกัน จึงมีการขอความร่วมมืองดแจกถุงพลาสติกหูหิ้วที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งในห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีก และร้านสะดวกซื้อ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 โดยคาดหวังว่าความร่วมมืองดแจกถุงพลาสติกนี้จะช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกลงได้ถึง 30 % ของการใช้ถุงพลาสติกทั้งหมดในประเทศไทยต่อปี การขอความร่วมมือที่เกิดขึ้นนี้ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของประเทศ รวมทั้งเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการปัญหาพลาสติกอย่างจริงจัง และกระตุ้นให้ประชาชนเริ่มหันมาให้ความสนใจกับปัญหาดังกล่าวมากขึ้น จนเกิดการถกเถียงเป็นวงกว้างในสังคม ว่าการขอความร่วมมือนี้ส่งผลดีหรือไม่ดีอย่างไร? สถาบันนโยบายสาธารณะและการพัฒนา (IPPD) จึงได้ร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Engineering) และศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน(RISC) จัดกิจกรรม “ปลุกพลังความคิด ใช้พลาสติกอย่างยั่งยืน” เพื่อรับฟังเสียงจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และแลกเปลี่ยนความคิดและมุมมอง เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการพลาสติกที่เกิดขึ้นร่วมกัน [กดดูบทสรุปฉบับเต็มได้ที่นี่](https://ippd.or.th/wp-content/uploads/2020/04/บทสรุป-Workshop-ปลุกพลังความคิด-ใช้พลาสติกอย่างยั่งยืน.pdf กดดูบทสรุปฉบับเต็มได้ที่นี่)